Share

Economic Outlook for Southeast Asia, China and India

ความสามารถในการฟื้นตัวจากภัยพิบัติที่รุนแรงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาของตลาดเกิดใหม่เอเชีย

 

OECD - ปารีส 2 พฤษภาคม 2567 (2024)  

ตลาดเกิดใหม่เอเชียประกอบด้วยประเทศสมาชิกสิบประเทศของสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ร่วมกับจีนและอินเดีย เป็นหนึ่งในภูมิภาคที่มีความเสี่ยงต่อภัยพิบัติมากที่สุดในโลก รายงานใหม่นี้พิจารณาตัวเลือกนโยบายเพื่อการจัดการกับความเสี่ยงจากภัยพิบัติให้ดีขึ้น ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของการสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืนในภูมิภาค

มุุมมองเศรษฐกิจสำหรับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จีนและอินเดียปี 2567 (2024): การพัฒนาท่ามกลางความเสี่ยงจากภัยพิบัติ ซึ่งถูกเผยแพร่ในวันนี้ระหว่างการประชุมระดับรัฐมนตรี OECD ปี 2567 (2024) พบว่าเศรษฐกิจของตลาดเกิดใหม่เอเชียกำลังฟื้นตัว แม้จะมีความท้าทายต่อสภาวะเศรษฐกิจโลกก็ตาม การเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาคในปีนี้จะได้รับแรงหนุนจากอุปสงค์ภายในประเทศและภูมิภาคที่แข็งแกร่ง และการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของภาคบริการ โดยเฉพาะการท่องเที่ยว อย่างไรก็ตาม ภูมิภาคยังคงเผชิญกับความท้าทาย เช่น อุปสงค์ภายนอกที่อ่อนแอ

ประเทศในตลาดเกิดใหม่เอเชียต้องเผชิญกับภัยพิบัติต่าง ๆ เป็นประจำ ซึ่งความถี่จะเพิ่มขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น น้ำท่วม พายุ พายุไซโคลน แผ่นดินไหว แผ่นดินถล่ม และการระเบิดของภูเขาไฟ ภัยพิบัติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ แสดงให้เห็นว่าการประสานงานที่ไม่ดีสามารถทำให้เกิดผลกระทบเชิงลบมากขึ้นทั่วทั้งภูมิภาค มุมมองนี้พิจารณาถึงขอบเขตนโยบายที่สำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพของการประสานงานเพื่อการพัฒนาถึงการรับมือต่อภัยพิบัติ สิ่งเหล่านี้รวมถึงการกำกับดูแลและศักยภาพเชิงสถาบัน การจัดทำงบประมาณ การจัดหาเงินทุนเพื่อความเสี่ยง โครงสร้างพื้นฐานและการวางแผนการใช้ที่ดิน การฝึกอบรมและการศึกษา สุขภาพ การนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้และความร่วมมือกับภาคเอกชน โดยมีข้อเสนอแนะสำคัญ ดังนี้

  • การปรับปรุงการจัดการภัยพิบัติผ่านการพัฒนาศักยภาพเชิงสถาบัน การประเมินความเสี่ยงที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้น และการทบทวนและปรับปรุงกฎหมายและกฎระเบียบอย่างสม่ำเสมอ
  • จัดให้มีงบประมาณเพียงพอสำหรับการรับมือกับภัยพิบัติ รวมถึงความพร้อมของเงินทุนสำหรับการเตรียมความพร้อม และการขยายทางเลือกทางการเงิน
  • การใช้การประเมินความเสี่ยงจากภัยพิบัติที่แข็งแกร่ง การพัฒนาแผนการดำเนินงานและการบำรุงรักษา การดำเนินการติดตามและประเมินผลอย่างสม่ำเสมอ และบูรณาการการแก้ปัญหาโดยอาศัยธรรมชาติเป็นพื้นฐาน เพื่อสร้างความสามารถในการฟื้นตัวจากภัยพิบัติในโครงสร้างพื้นฐาน
  • บูรณาการการศึกษาเพื่อลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติในทุกระดับและทุกช่องทางของการศึกษา โดยใช้สื่อการเรียนรู้ที่ทันสมัย ควบคู่ไปกับการติดตามและประเมินผล และโปรแกรมสร้างความตระหนักรู้ของประชาชน
  • การเพิ่มประสิทธิภาพในการตอบสนองด้านสุขภาพต่อภัยพิบัติจะต้องมีประสิทธิภาพ ในขณะเดียวกันก็รักษาการดูแลอย่างต่อเนื่องโดยเน้นการประสานงานและความยืดหยุ่น
  • การนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่เกี่ยวข้องกับภัยพิบัติมาใช้และส่งเสริมนวัตกรรม


สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สื่อมวลชนสามารถติดต่อกับคุณเคนซุเกะ โมลนาร์-ทานากะ (Kensuke Molnar-Tanaka) หัวหน้าฝ่ายเอเชียในศูนย์พัฒนา OECD (kensuke.molnar-tanaka@oecd.org), +33 6 27 19 05 19), คุณโบชรา ครีอูท (Bochra Kriout) จากสำนักงานข่าวของศูนย์พัฒนา OECD (bochra.kriout@oecd.org , +33 1 45 24 82 96)


บันทึกถึงบรรณาธิการ:

ตลาดเกิดใหม่เอเชียประกอบด้วยประเทศสมาชิกสิบประเทศของสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม กัมพูชา อินโดนีเซีย สปป. ลาว มาเลเซีย เมียนมาร์ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม รวมถึงจีน และอินเดีย

 

 

 

Related Documents